ฟิช แอนด์ ชิปส์ ( Fish & Chips ) อาหารสุดธรรมดา ที่ กลายมาเป็น อาหารประจำชาติ
Share : facebook line twitter messenger

ฟิช แอนด์ ชิปส์ ( Fish & Chips ) อาหารสุดธรรมดา ที่ กลายมาเป็น อาหารประจำชาติ

บทความ ร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยา



หลาย ๆ คนที่มี อาหารจานด่วน สุดโปรดเป็นเจ้า ฟิช แอนด์ ชิปส์ ( Fish & Chips ) นี้ใช่ไหมล่ะคะ แล้วเพื่อน ๆ รู้ไหมคะว่าเจ้า อาหารสุดธรรมดา เรียบง่าย นี้ มีที่มาอย่างไร และ กลายมาเป็น เมนูยอดฮิต อาหารประจำชาติ ได้อย่างไร เรามีคำตอบค่ะ

 

ถ้าให้นึกถึง อาหารอังกฤษ ขึ้นมาสักหนึ่งเมนู เชื่อว่า ฟิช แอนด์ ชิปส์ ( Fish & Chips ) เมนูปลาชุบแป้งทอด กับ มันฝรั่งทอด ที่สุดแสนเรียบง่าย หากินได้ทั่วไป คงผุดขึ้นมาในหัว ของใครหลาย ๆ คน แม้จะดูเรียบง่าย แต่ก็เรียกได้ว่านี่คือ หนึ่งในอาหาร ประจำชาติ ของประเทศอังกฤษ กันเลย

 

ฟิช แอนด์ ชิปส์ ( Fish & Chips ) เป็นอาหารจานร้อน ที่มีต้นกำเนิดในอังกฤษ ประกอบด้วย เนื้อปลาที่ชุบแป้ง โดยมักจะเป็น ปลาค็อด แอตแลนติก ( Atlantic Cod ) หรือ ปลาค็อดชนิดอื่น ๆ รวมทั้งมัน ฝรั่งทอด เป็นอาหารจานด่วนยอดนิยม อย่างแพร่หลาย และ มีเครื่องเคียงที่กินร่วมกัน คือ ถั่วลันเตาบด ( Mushy Peas ) กับ น้ำเลม่อน ( Lemonade ) หรือ โซดา ( Soda )

 

แต่ทำไมอาหารที่เรียบง่ายแบบนี้ ถึงกลายมาเป็น อาหารที่ได้รับความนิยมใน อังกฤษ สามารถหากินได้ทั่วไป ไปจนถึงคนอังกฤษกิน ฟิช แอนด์ ชิปส์ ( Fish & Chips ) มาตั้งแต่เมื่อไหร่ นิยมใช้ปลาอะไร กินกับเครื่องเคียง หรือ ซอส อะไร หากใครที่มีคำถามเหล่านี้ในใจ เราจะพาเพื่อน ๆ ย้อนไปดู ต้นกำเนิดของอาหาร ประจำชาติอังกฤษ เมนูนี้กัน ว่าเมนูที่แสนเรียบง่ายนี้ มีความเป็นมา ที่น่าสนใจขนาดไหน

 

ก่อนที่จะมาเป็น ฟิช แอนด์ ชิปส์ ( Fish & Chips ) ในปัจจุบัน ทั้ง ปลาทอด และ มันฝรั่งทอด เป็นอาหารสองอย่าง ที่แยกจากกัน ดังนั้น ฟิช แอนด์ ชิปส์ ( Fish & Chips ) จึงมีที่มาที่ต่างกัน ก่อนที่มันจะมารวม เป็นเมนูเดียวกัน ในช่วงศตวรรษที่ 19 และ ทั้งสองเมนู ไม่ได้ถูกคิดค้น โดยคนอังกฤษเลย แม้แต่น้อย แต่เป็นเหล่าผู้อพยพ ที่มาอาศัย ในอังกฤษต่างหาก

 

เริ่มจากส่วนแรก คือ ปลาทอด เชื่อกันว่า ลักษณะการปรุงปลา ด้วยการนำไป ชุบแป้งแล้วทอด เป็นวิธีการปรุงอาหาร ของชาวยิว ที่อพยพจาก สเปน และ โปรตุเกส มาตั้งรกราก บนเกาะอังกฤษช่วงศตวรรษที่ 1617 แต่เดิมเรียกกันว่า เปสคาโด ฟริโต ( Pescado Frito ) โดยชาวยิวจะทอดมัน ในวันศุกร์ เพื่อเตรียมรับ วันสะบาโต ( Sabbath ) เพราะการชุบแป้งทอด ช่วยยืดอายุปลา ให้สามารถ เก็บไว้กินได้ ในวันต่อ ๆ ไป

 

การนำปลามาทอด ลักษณะนี้ เริ่มฝังรากลงใน วัฒนธรรมอาหาร ของชาวอังกฤษ เริ่มมีการนำมาปลาทอดมาขาย เป็นร้านแผงลอย ให้ชาวอังกฤษได้ซื้อกิน โดยเฉพาะเมื่ออังกฤษ เข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ( 17601850 ) มันยิ่งได้รับความนิยม ในหมู่ชนชั้นแรงงาน เพราะมันกินง่าย ราคาถูก แต่ในตอนนั้น มันจะเสิร์ฟคู่กับมันฝรั่งอบ หรือ ขนมปัง ยังไม่ใช่มันฝรั่งทอดอย่างในปัจจุบัน

 

มาในส่วนที่สองของ ฟิช แอนด์ ชิปส์ ( Fish & Chips ) คือ มันฝรั่งทอด ที่หลายคนชื่นชอบ ซึ่งชาวยุโรปรู้จักมันฝรั่ง มาตั้งแต่ช่วง ปี 1570 แม้ในช่วงแรก ยังไม่มีใครกินมัน และ ยิ่งซับซ้อนไปอีก เพราะมันฝรั่งทอด ในปัจจุบัน ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า ชาวฝรั่งเศส หรือ ชาวเบลเยียม ที่ริเริ่มการเอา มันฝรั่ง ไปทอดกันแน่ แต่มันฝรั่งทอด ก็แพร่มาจนถึง อังกฤษ ผ่านผู้อพยพ นั่นเอง

 

สรุปคือ อาหารทั้งสองอย่าง ที่จะมารวมกันเป็น ฟิช แอนด์ ชิปส์ ( Fish & Chips ) อาหารประจำชาติอังกฤษนั้น ต้องขอบคุณ เหล่าผู้อพยพ ที่นำอาหารเหล่านี้เข้ามา เพราะชาวอังกฤษ ไม่ได้คิดขึ้นมาเอง แม้แต่น้อย และ ร้านขายปลาทอด ในลักษณะนี้ เคยถูกกล่าวถึงในนิยาย Oliver Twist ( 1839 ) ของ Charles Dickens ด้วย เป็นหลักฐานว่า มันมีอิทธิพล ต่อวัฒนธรรม อาหารอังกฤษ

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

พิซซ่า มาการิต้า ( Pizza Margherita ) จาก อิตาลี แท้ ๆ

กุ้งอบวุ้นเส้น เมนูสไตล์ไทย ๆ ของทาง โคโค่ เจ้าพระยา ( Coco Chaophraya )

Created : 08-11-2021

บทความที่น่าสนใจ

ทุก ๆ มื้อพิเศษของคุณ ให้ โคโค่ เจ้าพระยา ดูแลคุณ

เมนู กาแฟ ที่ควรลองของ โคโค่ เจ้าพระยา ( Coco Chaophraya )




A PHP Error was encountered

Severity: Core Warning

Message: PHP Startup: Unable to load dynamic library 'i360.so' (tried: /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so (libhs_runtime.so.5: cannot open shared object file: No such file or directory), /usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so (/usr/local/php74/lib/php/extensions/no-debug-non-zts-20190902/i360.so.so: cannot open shared object file: No such file or directory))

Filename: Unknown

Line Number: 0

Backtrace: