ดูแลมื้อพิเศษด้วย โคโค่ เจ้าพระยา
Share : facebook line twitter messenger

ดูแลมื้อพิเศษด้วย โคโค่ เจ้าพระยา

บทความ ร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยา



โคโค่ เจ้าพระยา ( Coco Chaophraya ) ร้านอาหารสุดชิค พร้อมวิวสะพานพระราม 8 ทีเด็ดของย่านนี้เลย ถ่ายรูปมุมไหนก็ดูดี ที่สำคัญให้เราดูแลมื้อพิเศษให้กับคุณสิ รับรองว่าไม่ผิดหวัง

 

     สะพานพระราม 8 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน ( สำนักงาน กปร. และมูลนิธิชัยพัฒนาในปัจจุบัน ) เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

 

ประวัติสะพานพระราม 8

     สะพานนี้เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พระองค์มีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ารองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ  สะพานพระราม 8 จะช่วยเชื่อมการเดินทางระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งจะช่วยระบายรถบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้ถึง 30% และบนสะพานกรุงธน อีก 20% และยังสามารถลดมลพิษทางอากาศบริเวณในเมือง โดยเริ่มเปิดให้ใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 เวลา 7:00 น.

 

ลักษณะโดยทั่วไป

     สะพานพระราม 8 มีความยาวรวม 475 เมตร สูงเท่าสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และความลาดชันไม่เกิน 3% เป็นสะพานหลักช่วงข้ามแม่น้ำ 300 เมตร สะพานยึดช่วงบนบก 100 เมตร และสะพานช่วงโครงสร้างยึดเสา 75 เมตรมีรูปแบบโดดเด่นสวยงามเพราะได้ออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรซึ่งหมายความว่ามีเสาสะพานหลักเสาเดียวบนฝั่งธนบุรี และมีเสารับน้ำหนัก 1 ต้นบนฝั่งพระนคร จึงไม่มีเสารับน้ำหนักตั้งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ไม่มีปัญหาต่อการสัญจรทางน้ำ ช่วยป้องกันน้ำท่วมและระบบนิเวศวิทยาในน้ำ รวมทั้งไม่กระทบต่อการจัดตั้งกระบวนพยุหยาตราชลมารค

     การรับน้ำหนักของสะพาน ได้ติดตั้งสายเคเบิลระนาบคู่ 28 คู่ขึงยึดพื้นช่วงข้ามแม่น้ำ และใช้สายเคเบิลระนาบเดี่ยว 28 เส้น ขึงยึดรั้งกับโครงสร้างยึดเสาสะพานบนฝั่งธนบุรี เคเบิลแต่ละเส้นประกอบด้วยสลิงตั้งแต่ 11-65 เส้น เมื่อเกิดปัญหากับเคเบิล สามารถขึงหรือหย่อนได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องปิดการจราจรเหมือนสะพานพระราม 9 เนื่องจากเคเบิลแต่ละเส้นใช้สลิง ภายในซึ่งเป็นขดลวดใหญ่ทำให้ดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซมยากกว่า อีกทั้งสายเคเบิลของสะพานพระราม 8 ยังมีสีเหลืองทอง สีประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อสะท้อนแสงจะส่องประกายสวยงาม โดยเฉพาะยามค่ำคืน       

     ด้านมาตรฐานความปลอดภัยได้ทดสอบแรงดึงในลวดสลิง 1 ล้านครั้ง โดยใช้แรงดึงปกติ 10 ตัน ไม่มีปัญหา และต้องใช้แรงดึงถึง 27 ตัน ลวดสลิงถึงขาดแต่ก็แค่ 1% เท่านั้น นอกจากนี้ได้มีการทดสอบแรงลม แรงสั่นสะเทือน ทิศทางลม รวมทั้งติดตั้งเครื่องวัดไว้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อดูความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น

     สะพานพระราม 8 เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรที่ติดอันดับ 5 ของโลก รองจากประเทศเยอรมนีซึ่งติดอันดับถึง 3 สะพาน และประเทศเนปาล โดยนับจากความยาวช่วงของสะพานส่วนสะพานพระราม 9 ซึ่งเป็นสะพานขึงตัวแรกแต่เป็นแบบสมมาตร เพราะมี 2 เสา ถือว่าอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก โดยนับความยาวช่วงของสะพานได้ 450 เมตร ความโดดเด่นสวยงาม ที่เกิดขึ้น ผสมผสานไปด้วยศิลปะแบบไทย ๆ จากแนวคิดในการสร้างเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติในหลวงพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 กรุงเทพมหานครจึงได้อัญเชิญ "พระราชลัญจกร" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ มาเป็นต้นแบบในการออกแบบทางสถาปัตยกรรม การออกแบบกำหนดทิศทางของสะพานและพระบรมราชานุสรณ์ ได้ออกแบบให้ประจวบเหมาะสัมพันธ์กับธรรมชาติวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ในวันที่ ๒๑/๒๒ ธันวาคม ของทุกปี โดยในเวลาเช้ามืดดวงอาทิตย์โผล่เด่นพ้นขอบฟ้าขึ้นตรงเส้นกลางถนนบนสะพานด้านทิศตะวันออก และ ขึ้นตรงหน้าพระบรมราชานุสรณ์ ช่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง เสมือนเป็นมาตรที่บ่งบอกทิศทางการโคจรเป็นวงรี วกกลับของดวงอาทิตย์เมื่อเทียบในระนาบ๒ มิติตามวิถีคิดในอดีตกาล ส่วนประกอบต่าง ๆ ของสะพานเน้นความโปร่งบาง เรียบง่าย และสวยงาม วัสดุที่ใช้ในโครงสร้างของสะพานเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น ในส่วนสะพานเสาสูงรูปตัว Y คว่ำ เป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำหน้าที่หิ้วส่วนโครงสร้างสำคัญอื่น ๆ ของสะพาน ซึ่งมองเห็นได้ในระยะไกล ๆ ได้ออกแบบโดยใช้เค้าโครงมโนภาพของเรือนแก้ว ราวกันตก ซึ่งทำจากโลหะออกแบบเป็นลวดลายที่วิจิตรและอ่อนช้อย จำลองมาจากดอกบัวและกลีบบัวเสาโครงสร้างใต้แผ่นพื้นตกแต่งด้วยลวดลาย ที่จำลองจากดอกบัวใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนแสงลงสู่ผิวจราจรใต้ทางยกระดับ ช่วยเพิ่มความสว่างบริเวณใต้ทางยกระดับและประหยัดไฟฟ้าในเวลากลางคืน

     สิ่งพิเศษสุดของสะพานพระราม 8 ที่สะพานอื่นในกรุงเทพมหานครยังไม่มีก็คือ ที่ปลายยอดเสาสูงของตัวสะพานจะมีจุดชมทิวทัศน์ ซึ่งมีโครงสร้างโลหะกรุกระจกลักษณะคล้ายดอกบัว สูงจากพื้นดินถึง 165 เมตร หรือสูงเท่าตึก 60 ชั้น พื้นที่ 35 ตารางเมตร จุคนได้ครั้งละเกือบ 50 คนซึ่งจะเปิดให้บริการกับประชาชนทั่วไปด้วยแต่การก่อสร้างส่วนนี้จะแล้วเสร็จภายหลังพร้อม ๆ กับลิฟต์ของคนพิการซึ่งอยู่หัวมุม 2 ฝั่งแม่น้ำ ประมาณเดือนกันยายน เนื่องจากโครงสร้างเสาสูงเป็น แบบตัว Y คว่ำการขึ้นลงจุดชมทิวทัศน์จึงต้องติดตั้งลิฟต์ทั้งในแนวเฉียง และแนวดิ่ง โดยเป็นแนวเฉียงจากพื้นดิน 80 เมตรก่อน จากนั้นจึงเป็นแนวดิ่งอีก 155 เมตร แต่บรรทุกได้เที่ยวละประมาณ 5 คน ใช้เวลาขึ้น-ลง 2-3 นาที นอกจากนี้ยังมีลิฟต์ธรรมดาอยู่คนละด้านเพื่อใช้สำหรับเจ้าหน้าที่ในการดูแลและตรวจตราสะพาน

 

ร้านอาหารสุดโรแมนติก ถ่ายรูปสวย ติดสะพานพระราม 8 วิวแม่น้ำเจ้าพระยา

     ร้านอาหารริมแม่น้ำ โคโค่ เจ้าพระยา ( Coco Chaophraya ) ตั้งอยู่บนถนนพระอาทิตย์ แลนมาร์ค คือ วิวสะพานพระราม 8 เป็นภาพที่สวยงามมาก ยิ่งมองผ่านในเลนส์กล้อง บอกเลยสายถ่ายรูปห้ามพลาด สำหรับร้านนี้เมนูอาหารมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น อาหารอิตาเลียน อาหารไทย อเมริกัน บอกกับของหวาน เมนูที่เป็น Signature จากทางร้าน นั่นคือ CoCo เชฟสลัด น้ำสลัดที่มีส่วนผสมของน้ำมันมะพร้าว เป็นสูตรโดยทางร้านเอง บวกกับ กุ้งตัวโต พร้อมผักสลัด สด ใหม่ ในราคา 180 บาท / จาน และเมนูเครื่องดื่ม Coco Espresso, ไอศกรีมมะพร้าว พร้อมบรรยากาศที่สวย โรแมนติก Recommend เลยค่ะ ให้เราดูแลมื้อพิเศษให้หับคุณนะคะ ร้านเปิดทุกวัน ตั้งแต่ 8.00 น.-21.00 น.

 

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม

5 ร้านอาหารริมน้ำ ที่ต้องปักหมุดไปตำ

ทำไมต้อง สั่งอาหาร กับ โคโค่เจ้าพระยา COCO Chaophraya

Created : 10-06-2021

บทความที่น่าสนใจ

เมนูเด็ดเมนูดังที่ Coco Chaophraya

แซ่บจี๊ดกับ เมนูยำ ร้านโคโค่ เจ้าพระยา อร่อยจนต้องลอง